บำรุงสมอง บำรุงประสาท ป้องกันโรคอัลไซม์เมอร์ ลดไขมันในเส้นเลือด ต้องทาน น้ำมันปลา
ซึ่งสกัดจากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินที่เสริมสร้างสมอง และร่างกายของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
น้ำมันปลา
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลา สกัดจากปลาทะเลน้ำลึก อุดมไปด้วยคุณประโยชน์จากกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ EPA และ DHA
น้ำมันปลามีประโยชน์อย่างไรและใครควรกิน
ประโยชน์ของน้ำมันปลามีมากมาย คือ ลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ดี น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์ บำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นลดการอักเสบของโรคสะเก็ด เงินหรือโรคเรื้อนกวาง
เด็กทารกและสตรีมีครรภ์ เชื่อว่า DHA จะมีผลต่อการ พัฒนาของสมองและการมองเห็นของทารก แต่ทารกไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยจากน้ำนมแม่ จากการศึกษายังพบว่า เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับอีก ด้วย มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรบริโภค DHA อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ DHA ที่ได้รับ ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม
เด็กวัยเรียนรู้ DHA เป็น ส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทซึ่งมีผลต่อสติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง
คนในวัยทำงาน มักประสบความเครียดอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาด DHA ในปริมาณที่เหมาะสม กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจะผ่านเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ของเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานดีขึ้น หากรับประทานอาหารที่มีกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สัดส่วนของ DHA ในสมองสูงขึ้น ความเครียดจะลดลงและสมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ผู้สูงอายุ จะเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ง่ายกว่า คนในวัยอื่นๆ โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่จากการทดลองโดยการให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกแก่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ใน ประเทศญี่ปุ่น พบว่าความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการตัดสินใจ และประสิทธิภาพระดับสูงของผู้ป่วยดีขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ DHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด
- ในคนไข้ที่เริ่มมีปัญหาการสะสมของไขมันในเลือด การได้รับน้ำมันปลาจะไปลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่จัดว่าเป็นไขมันชนิดร้าย และเพิ่มระดับของ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันที่ดี ทำให้คนไข้ลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันอยู่ในระดับสูงเกินไปจนพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดในที่สุด
- ส่วนคุณๆที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว EPA จะเป็น สารตั้งต้นในการ สร้าง eicosanoids โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งseries-3 prostaglandins และ series-5 leucotriene (LTB-5) ซึ่งสารหลาย ๆ ตัวในกลุ่มดังกล่าวจะช่วยลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ช้าลง ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น จึงช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากโรคหัวใจและ หลอดเลือด
- EPA ลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ series-4 leucotriene (LTB-4) ส่งผลให้บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) แผลอักเสบที่ลำไส้ รวมทั้งสามารถลดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อได้อีกด้วย
- EPA จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ การสังเคราะห์ prostaglandin และลดการหลั่ง serotonin ของเกร็ดเลือด ทำให้การรวมกลุ่มของเกร็ดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง ดังนั้นการให้ EPA จะสามารถลดอาการของไมเกรนลงได้เช่นกัน
- ผลจากการลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ จึงลดการอักเสบของโรคผิวหนัง ในคนไข้ที่เป็นโรคเรื้อนกวาง (Psoriasis)
- นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า DHA อาจจะช่วยแก้โรคความจำเสื่อม ชนิด Alzeimer’s disease ได้และยังจะลดอาการซึมเศร้าในคนชราที่มี cholesterol ต่ำด้วย
สรุปประโยชน์น้ำมันปลา บำรุงสมองและระบบประสาท บำรุง กล้ามเนื้อหัวใจ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น บำรุงสายตา และจอประสาทตา ลดคอลเลสเตอรอล และไขมัน ลดความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลดอาการอักเสบจากข้อรูมาตอยด์ ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ป้องกันโรค อัลไซเมอร์ ป้องกันโรคซึมเศร้า จิตเภท ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
- Robert Oh, Practical Applications of Fish Oil (-3 Fatty Acids) in Primary Care, Department of Family Medicine, MCHJ-FP, Madigan Army Medical Center, Ft. Lewis, Washington, www.jabfm.org
- Fats, Fish Oil and Omega-3-Fatty Acids, www.medicinenet.com
- วาทิต ศาสตระวาทิต งานวิจัยเภสัชอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ “น้ำมันปลา” องค์การเภสัชกรรม, www.gpo.or.th/rdi
- วินัย ดะห์ลัน กรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า-3 บทบาทใหม่ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม รายงานประจำปี 2538 – 2539 สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย
- สมพงษ์ สหพงศ์ น้ำมันปลา น้ำมันลดไขมัน, พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์รวมทรรศน์, กรุงเทพฯ กรกฎาคม 2538
- เสก อักษรานุเคราะห์. มาบริโภคน้ำมันปลากันเถอะ, http://geocities.com/Tokyo/Harbor/2093
- น้ำมันปลา, www.bangkokhealth.com